top of page
ค้นหา
Readclassic

แบบฝึกร้องโน้ต 333 Reading Exercises หรือ (Kodály 333)


หนึ่งในแบบฝึกหัดร้องโน้ตที่นิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก โดยในปี 2016 ทางองค์การยูเนสโก (Unesco) ได้ขึ้นทะเบียนให้แบบฝึก 333 Reading Exercises เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ในประเภทจับต้องไม่ได้ ทั้งนี้ในไทยนิยมเรียกแบบฝึกนี้ว่า Kodály 333

แบบฝึก Kodály 333 มีจุดกำเนิดมาจาก โซลทาน โคดาย (Zoltán Kodály 1882 -1967) นักประพันธ์เพลงชาวฮังการีชื่อดังแล้ว ซึ่งตัวเขาเองก็ยังเป็นนักมานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicologist) และนักปรัชญาอีกด้วย เนื่องด้วยความเป็นนักมานุษยดนตรีวิทยา สิ่งนี้เองได้ส่งผลให้เกิดแบบฝึก Kodály 333 ขึ้นมา


Zoltán Kodály
Zoltán Kodály

วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างแบบฝึก ส่วนใหญ่จะวัตถุดิบที่เอามาจากดนตรีพื้นบ้านผสมกับบทกวีของชาวฮังการี โดยมีเหตุผลที่ว่าเพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเป็นเพลงสั้น ๆ และมีรูปแบบที่เรียบง่าย ซึ่งเหมาะกับการนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างแบบฝึก Kodály 333


ตัวอย่างดนตรีพื้นบ้านของฮังการี

เลข 333 คือจำนวนแบบฝึกที่อยู่ในหนังสือ โดยมีความยากง่ายที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับตัวเลข ซึ่งภาพรวมของแบบฝึกหัดนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวของ Kodály ได้ออกแบบวิธีการร้องเพื่อให้ผู้ฝึกเข้าใจถึงขั้นคู่ (Interval) ระบบกุญแจเสียง (Tonality) อัตราจังหวะ (Rhythm) และการร้องโน้ต เป็นต้น

ตัวอย่างแบบฝึกหมายเลข 1


ตัวของแบบฝึกให้ร้องเพียงแค่ขั้นคู่ 2 Major เพียงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นการร้องโน้ต C ไปหาโน้ต D เป็นต้น ก่อนที่แบบฝึกหมายเลขต่อ ๆ ไปจะเริ่มเพิ่มความยากขึ้นทั้งการร้องขั้นคู่ รวมไปถึงจังหวะ


อาจพูดได้ว่า Kodály 333 ถูกจัดให้เป็นแบบฝึกหัดเริ่มต้นของการฝึกร้องโน้ต เนื่องจากความง่ายของแบบฝึกนั้นเอง ซึ่งในประเทศฮังการี Kodály 333 ใช้สำหรับสอนเด็กชั้นประถมก็ว่าได้ โดยสามารถเรียกได้ว่าแบบฝึกนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกร้องโน้ตในแบบฝึกร้องต่าง ๆ ต่อไป



Comments


bottom of page