ดนตรีเสี่ยงทาย (Aleatory Music) หนึ่งในรูปแบบดนตรีในศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้ความนิยมอยู่พอสมควร โดยเป็นการนำปรัชญามาประยุกต์กับงานดนตรี ซึ่งสามารถจัดหมวดหมู่ของดนตรีลักษณะนี้ให้อยู่ภายใต้ดนตรีทดลอง (Experimental music)
กล่าวได้ว่าบุคคลที่เป็นแกนนำหลัก ๆ ของรูปดนตรีเสี่ยงทายก็คือ จอห์น เคจ (John Cage) ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาเทคนิควิธีการแต่งเสี่ยงทายรูปแบบนี้ก็ว่าได้
Chance Operation คือชื่อเรียกของวิธีการทำดนตรีเสี่ยงทาย ซึ่งเป็นเพียงในหลาย ๆ วิธีที่สามารถสร้างดนตรีเสี่ยงทาย ซึ่ง Chance Operation ใช้การโยนลูกเต๋าเพื่อตีความจากตัวเลข/สัญลักษณ์ต่าง ๆ จากการทอยลูกเต๋านั้นเอง ทั้งนี้จะมีกติกาข้อกำหนดไว้อยู่ก่อนการเสี่ยงทายแล้วว่า หากโยนได้เลขอะไร จะเป็นโน้ตอะไร แบบไหน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้นั้นเอง
ทั้งนี้ลักษณะการเสี่ยงทายที่เกี่ยวข้องกับดนตรีนั้น เคยปรากฏอยู่ศตวรรษที่ 15 โดยมีรูปแบบที่ว่าให้โยนลูกเต๋าเพื่อเลือกท่อนเพลงที่จะบรรเลง อาจบอกได้ว่ารูปแบบการเสี่ยงทายที่เกิดขึ้นกับดนตรีทั้ง 2 ยุค มีแนวคิดที่เหมือนกัน แต่เมื่อมองไปถึงรายละเอียดก็จะเห็นถึงความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความซับซ้อนของดนตรีเสี่ยงทายในศตวรรษที่ 20 มีมากกว่าในศตวรรษที่ 15 เนื่องด้วยมีการประยุกต์การเสี่ยงทายให้ไปยุ่งเกี่ยวกับวิธีการประพันธ์ นอกจากการโยนลูกเต๋าเพื่อลุ้นโน้ตแล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นการลุ้นสัดส่วนจังหวะ เสียงดังเบา เทคนิคการบรรเลงต่าง ๆ อะไรเหล่านี้เป็นต้น
วิธีการ Chance Operation จากที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการแบบง่าย ๆ ของการทำดนตรีเสี่ยงทายเท่านั้นเอง ซึ่งใคร ๆ สามารถทดลองทำเองได้ที่บ้าน นอกจากนี้ดนตรีเสี่ยงทายไม่ได้หยุดพัฒนาไว้เพียงเท่านี้ ยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนมีความซับซ้อน และซีเรียส ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิธีการ ตลอดจนความยากในการเล่น เรียกได้ว่ามีความท้าทายไม่น้อยไปกว่ากระแสดนตรีอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้
หนึ่งในบทประพันธ์เพลงที่ใช้วิธีการประพันธ์ด้วยการเสี่ยงทาย Concert for piano and orchestra (John Cage)
ความคิดเห็น