top of page
ค้นหา
Readclassic

Basic Articulation of Ranat Ek (ระนาดเอก)



Basic Articulation of Ranat Ek (ระนาดเอก)


คำว่า “Articulation“เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับดนตรีตะวันตก เรามักจักคุ้นเคยกับคำว่า Legato, Staccato, Trill หรือ Tremolo ซึ่งในดนตรีไทยบ้านเราก็มีและสำคัญไม่แพ้กัน วันนี้จึงมาแนะนำคำศัพท์พื้นฐานและคำอธิบายลักษณะการบรรเลงของ “ระนาดเอก” โดยจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้


  • สะบัด - คือการตีสองถึงสามโน้ตต่อกันด้วยความเร็ว

  • สะเดาะ - คือการตีโน้ตเดียวกันสามครั้งด้วยความเร็ว

  • กรอ - คือการตีสลับมือซ้ายและมือขวาด้วยความถี่ที่เท่ากัน ซึ่งจะตีเป็นคู่ตั้งแต่คู่สองเป็นต้นไป

  • รัว - คือการตีสลับมือในอัตราความเร็วที่เท่ากันโดยใช้หนึ่งโน้ต (หรือมากกว่า)

  • กวาด - คือการตีรูดจากเสียงหนึ่งไปหาเสียงหนึ่ง

  • เก็บ - คือการตีสองมือพร้อมกันในลักษณะคู่แปดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

  • ขยี้ - คือการบรรเลงแบบเดียวกับวิธีการตีเก็บแต่เพิ่มอัตราความถี่หนึ่งเท่าตัว

  • คาบลูกคาบดอก - คือการตีรัวสลับการตีเก็บ



สำหรับนักดนตรี/นักแต่งเพลงฝั่งตะวันตก สามารถนำแนวคิดการบรรเลงของระนาดเอก มาประยุกต์ใช้ในการบรรเลงหรือประพันธ์ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความน่าสนใจและเอกลักษณ์ประจำชาติได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงพื้นฐานจากอีกมากมายของดนตรีไทย และเรามีนักดนตรีระดับโลกอยู่ในชาติเรามากมาย จะน่าเสียดายอย่างมากถ้าไม่ได้เปิดใจให้กับดนตรีไทยที่ใกล้ตัวของเรา



ตัวอย่างเดี่ยวระนาดเอก พญาโศก เถา

บรรเลงโดย อาจารย์ เบิ่ง - ทวีศักดิ์ อัครวงษ์


Kommentare


bottom of page