top of page
ค้นหา
Readclassic

Graphic Score รูปแบบการบันทึกโน้ตที่ไม่ได้อยู่ในบรรทัด 5 เส้น


Graphic Scoreการบันทึกโน้ต

Graphic Score เกิดขึ้นในช่วงปี 1950 เป็นการบันทึกด้วยภาพวาดหรือสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ แทนการบันทึกด้วยโน้ตลงในบรรทัด 5 เส้นในแบบดั้งเดิม ซึ่ง Graphic Score จะมาพร้อมคำอธิบายกำกับในการเล่นแบบต่าง ๆ โดยบุคคลที่ทำเป็นคนแรก ๆ คือ John Cage ที่เริ่มใช้วิธีการเช่นนี้

ทั้งนี้หลายคนจะคุ้นเคยกับคำว่า Graphic Notation หรือหลาย ๆ ครั้งก็จะนิยมเรียกว่า Graphic Score การบันทึกโน้ตด้วยวิธี Graphic Notation มีข้อดีคือ ทำให้นักดนตรีมีอิสระในการบรรเลง ถ่ายทอดความรู้สึกที่จินตนาการออกมาได้อย่างไม่สิ้นสุด (ภายในกรอบที่กำหนดไว้) และให้ความรู้สึกค่อนข้างจริงใจ


Graphic Scoreการบันทึกโน้ต

อย่างไรก็ตาม บางครั้งมักจะเจอปัญหาเช่น นักดนตรีอาจเกิดอาการไม่เข้าในบริบทที่กำลังเล่น ทำให้การถ่ายทอด การตีความ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจไว้ และแต่ละครั้งที่เกิดการบรรเลงเพลงที่บันทึกด้วย Graphic Score จะไม่เคยเล่นเหมือนกันสักครั้ง (แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะการเลือกบันทึกโน้ตแบบนี้ผู้ประพันธ์ย่อมต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อยู่แล้ว) เสมือนเป็นการเสี่ยงทาย

ตัวอย่างผลงานเช่นเพลง Concert for piano and orchestra



Concert for piano and orchestra คือบทเพลงนี้ถูกเขียนขึ้นสำหรับนักดนตรี 14 คน และได้ระบุไว้ว่า แต่ละ Part สามารถแยกออกมาบรรเลงเดี่ยวได้ (Solo) รวมไปถึงไม่จำเป็นต้องเล่นครบทั้ง 14 คนก็ได้


สำหรับในส่วนของ Piano มีความพิเศษคือ ตัวของ John Cage ได้ทำ Graphic Notation ลงในกระดาษทั้งหมด 63 แผ่น โดยมีกติกาให้สามารถอ่านในรูปแบบใดก็ได้ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน หรืออื่น ๆ ได้ทั้งสิ้น และไม่จำเป็นต้องเล่นแบบเรียงหน้า ไม่มีแผ่นไหนอยู่ก่อนหลัง ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นกี่แผ่นก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องครบ) และในกระดาษแต่ละแผ่นจะมีกฎกติกาของตัวเองกำกับไว้ทั้งหมด

Comentarios


bottom of page