ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมาดนตรีอยู่คู่กับโลกและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ในอดีตสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้บทประพันธ์มีความเป็นเอกภาพคือ Motif (โมทีฟ) หรือที่รู้จักกันคือ กลุ่มทำนอง จังหวะ คอร์ด ที่เกิดการทำซ้ำและพัฒนาตลอดบทประพันธ์ ซึ่งเกือบทุกบทเพลงจะมี "โมทีฟ" ในลักษณะต่าง ๆ ที่เฉลยอย่างชัดเจนหรือแม้แต่ซ้อนอย่างแนบเนียนสอดแทรกอยู่เสมอ
ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีนักประพันธ์เพลงหลายท่านได้นำแนวคิดนี้พัฒนาให้น่าสนใจยิ่งขึ้นโดยนำมาสู่การนำ "โมทีฟ" ใช้เพื่อเป็นตัวแทนของ "ตัวละคร สถานที่ หรือเหตุการณ์" ในละคร Opera (อุปรากร/โอเปรา) ซึ่งต่อมาวิธีการเหล่านี้จะถูกเรียกว่า "Leitmotif (ไลท์โมทีฟ)" ในที่สุดโดยนักแต่งเพลงยุคแรก ๆ ที่มีการใช้เทคนิค Leitmotif และมีผลงานที่โด่งดังคือ "Richard Wagner (ริชาร์ด วากเนอร์)" คีตกวีชาวเยอรมัน ผู้มีความหลงใหลในบทวรรณกรรมของ "William Shakespeare (วิลเลียม เชคสเปียร์)" เป็นอย่างมาก
(หมายเหตุ : มีคีตกวีเสียงอีกมากมายที่ใช้เทคนิคนี้รวมถึงมีการนำวิธีการนี้มาใช้ก่อน ศตวรรษที่ 19 ด้วยเช่นกัน)
Wagner มีสีสีนในชีวิตที่น่าสนใจ เขาเคยลี้ภัยทางการเมือง มีข่าวเครื่องความรักที่ซับซ้อน และชีวิตที่มีขาขึ้นและหลังสลับไปมา ซึ่งอาจนำมาสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานระดับตำนานมากมาย รวมถึงเรื่องราวที่นำมาสร้างเป็นโอเปราและการสร้างบทเพลงที่มีความซับซ้อนทางดนตรีสูง เขามีผลงานที่โดดเด่นในด้านโอเปราระดับตำนานมากมาย อาทิ "Der Ring des Nibelungen" ซึ่งเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดชิ้นหนึ่งของเขา ที่สำคัญเขาใช้เวลาในการประพันธ์ุถึง 26 ปี และโอเปราเรื่องนี้มีความยาวราว 16 ชั่วโมง โดยชิ้นงานนี้มีการใช้เทคนิค Leitmotif สอดแทรกไว้มากมายในตัวละคร และเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ และภายหลังโอเปราชิ้นนี้ได้มีอิทธิพลต่อนวนิยายและภาพยนต์สุดยิ่งใหญ่ "The Lord of the Rings (เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์)" ของ J. R. R. Tolkien (เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน)
Leitmotif จาก โอเปราเรื่อง Der Ring des Nibelungen
Leitmotif มาจาก Leitmotiv (ภาษาเยอรมัน) แปลว่า "Leit - การชี้นำ" Motiv - แรงจูงใจ
ซึ่งอาจตีความได้ว่ากลุ่มโน้ต/จังหวะที่ชี้นำไปหาอะไรบางอย่าง ในที่นี้อาจเหมือนตัวละคร เหตุการณ์ เป็นต้น
Playlist บทประพันธ์ Der Ring des Nibelungen
ปัจจุบันด้วยโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยน จากเดิม Leitmotif จะพบในโอเปราได้ถูกนำแนวคิดนี้มาถูกภาพยนต์และละครมากมาย อาทิ Star wars, Jaws (1975), Harry Potter, How to train your dragon และอีกมามาย โดยหนึ่งในนักประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนต์ที่มีความโด่นเด่นในการนำเทคนิค Leitmotif มาใช้แทนตัวละครจนผู้คนจดจำได้ดีได้แก่ John Williams (จอห์น วิลเลียมส์) ในบทเพลง "The Imperial March" ตัวละคร "Darth Vader (ดาร์ธ เวเดอร์)" จากภาพยนต์ระดับตำนาน Star wars หรือ Ramin Djawadi (รามิน จาวาดี) ผู้ประพันธ์เพลงประกอบ Game of Thrones ที่โด่งดัง
ในภาพยนต์และละครปัจจุบันเราอาจจะแบ่งแนวคิดในนำ "Leitmotif" มาใช้หลักได้ 4 แนวคิดหลักได้แก่
ตัวละคร - Character
ฉาก/เหตุการณ์ - Setting
อารมณ์/ความรู้สึก - Emotion
การวิวัฒนาการ - Evolution
อย่างไรก็ตามผู้ประพันธ์สามารถนำทำนองของตัวละครมาผสมผสานเข้ากับเหตุการณ์หรืออารมณ์ของเรื่องราว ณ ขณะนั้นได้ เช่น ทำนองที่เป็นของตัวละครนั้น ๆ แต่อยู่ในห้วงอารมณ์ที่แตกต่างกัน
ตัวอย่าง Leitmotif ที่พบเจอในบทประพันธ์ต่างๆ
The Force theme ที่อยู่ในภาพยนต์ Star Wars ฉากต่าง ๆ
โอเปรา เรื่อง L`Orfeo ของคีตกวีชื่อ Claudio Monteverdi
นับได้ว่า Leitmotif อยู่คู่กับดนตรีประกอบสื่อต่าง ๆ มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญสำหรับผู้ประพันธ์เพลงต้องการสร้างงานที่สื่อสารกับศิลปะแขนงอื่น เสมือนเป็นการถ่ายทอดและเชื่อมให้เข้ากันและยกระดับการแสดง บทละคร การสื่ออารมณ์ให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Comments