Minimalism music ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในกระแสดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไงก็คงรู้จักหรือคุ้นชินกับคำว่า “มินิมอล” อย่างแน่นอน แต่ในไทยมันจะไปอยู่ในรูปแบบของศิลปะและการออกแบบดีไซน์เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการตกแต่งที่พักอาศัยแบบมินิมอล และการแต่งตัวสไตล์มินิมอล อะไรเหล่านี้เป็นต้น
Read-classic พร้อมจะพาคุณไปรู้จักกับกระแส Minimalism music แบบคร่าวๆ ว่ามันมีความเป็นมาอย่างไร มีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวแบบไหน ตลอดจนแนะนำบทประพันธ์เพลงที่น่าลองฟัง หากคุณเป็นสาวกความมินิมอลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมาจากการแต่งห้อง การแต่งตัว หรือการเสพงานศิลป์ มันก็ไม่ควรมีเหตุผลใดๆ ที่แอปพลิเคชันฟังเพลง Spotify จะต้องมีเพลย์ลิสต์ Minimalism music ไว้ฟังบางหลังจากอ่านบทความนี้จบ
สำหรับกระแส Minimalism music เริ่มขึ้นในช่วง ค.ศ.1960 กับสไตล์ดนตรีที่มีเอกลักษณ์แบบชัดเจน ซึ่งมันแตกต่างจากกระแสดนตรีรูปแบบอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยความโดดเด่นของ Minimalism music จะเป็นเรื่องการใช้วัตถุดิบในการแต่งเพลงที่น้อย มีรูปแบบดนตรีที่เรียบง่าย และมีทำนองที่ซ้ำไปมาเป็นหลัก ก่อนที่จะมีการพัฒนาทำนองออกไปอีกทีหนึ่ง
มันก็พอคุยได้ว่า Minimalism music ไม่ได้ฟังยากอะไร หากไปเทียบกับกระแสดนตรีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยลักษณ์ของดนตรี Minimalism music จะเน้นรูปแบบซ้ำๆ และค่อยพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กน้อย ซึ่งผู้ฟังจำเป็นต้องใช้สมาธิในการฟังอยู่ไม่มากก็น้อย เพื่อที่จะรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเพลง
แม้จะบอกว่า Minimalism music ไม่ใช่ดนตรีที่ฟังยากอะไร แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดเช่นกัน เนื่องจากตัวของนักประพันธ์ก็ต้องมีการพัฒนารูปแบบการประพันธ์ในแง่ต่างๆ ออกไปจากเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซับซ้อนในมุมต่างๆ ซึ่งจะยึดโยงไปกับสไตล์ของนักประพันธ์นั้นล่ะ แต่เพลงที่ฟังง่ายๆ ก็ยังมีให้ฟังอยู่เช่นกัน
สไตล์ Minimalism music
ระดับเสียง (Pitch) จะมีรูปแบบซ้ำๆ เป็นหลัก
สำหรับทำนองเพลง (Melodies) เน้นการซ้ำทำนองเดิมไปมา ทำให้จดจำได้ง่าย
รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นไป โดยความเปลี่ยนแปลงจะมาพร้อมองค์ประกอบใหม่ๆ ที่สอดแทรกเพิ่มเข้ามา ซึ่งมันได้สร้างความรู้ของเพลงที่กำลังพัฒนาไปข้างหน้า (เพลงกำลังเดินทาง)
เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาท โดยที่นิยมเป็นอย่างมากก็ Moog synthesizer แต่ก็ไม่ใช่ทุกเพลงจะใช้ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเครื่องดนตรีอะคูสติกก็ยังคงถูกใช้อยู่เช่นกัน
ในส่วนของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของ Minimalism music จริงๆ ก็มีมากมาย แต่ที่อยากแนะนำให้รู้จักก็เป็น Steve Reich, Philip Glass และ Terry Riley เป็นต้น โดยนักประพันธ์แต่ละคนก็จะมีรูปแบบสไตล์ที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
Steve Reich (สตีฟ ไรคห์) เป็นนักประพันธ์ชาวอเมริกันที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในคนที่บุกเบิกกระแส Minimalism music โดยลักษณ์ดนตรีของเขาจะมีรูปแบบที่ซ้ำๆ ชอบใช้จังหวะที่หนักแน่น และมักใช้นักดนตรีเล่นเป็นกลุ่มใหญ่
Philip Glass (ฟิลิป กลาส) อีกหนึ่งนักประพันธ์ชาวอเมริกันที่มีเอกลักษณ์เป็นความซ้ำซาก โดยเขาชอบใช้เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดเป็นหลัก ส่วนนักดนตรีก็จะใช้เป็นกลุ่มเล็กๆ ในการเล่น ซึ่งดนตรีของเขาจะเน้นความเรียบง่าย
Terry Riley (เทอร์รี ไรลีย์) เป็นที่รู้จักจากงานที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Synthesizer Moog ซึ่งดนตรีของเขามักมีการด้นสดอยู่เสมอ และถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในเวลานั้นอีกด้วย
ผลงาน Minimalism Music ที่อยากแนะนำให้ไปลองฟัง
"Music for 18 Musicians" ของ Steve Reich นี่คือผลงานคลาสสิกสไตล์ Minimalism music ที่มีรูปแบบซ้ำๆ ที่เล่นโดยนักดนตรีกลุ่มใหญ่ ดนตรีจะค่อยๆ บรรเลงขึ้น โดยมีการเพิ่มเลเยอร์และเครื่องดนตรีใหม่ๆ เมื่อเพลงดำเนินไป
"In C" ของ Terry Riley นี่เป็นผลงานที่ทรงอิทธิพลอีกชิ้นหนึ่งของ Minimalism music โดยจะมีรูปแบบการเล่นที่เน้นความเรียบง่าย การซ้ำ ทำนองที่จำง่าย และยังมีท่อนให้นักดนตรีด้นสดอีกด้วย หากสังเกตที่สกอร์โน้ตก็จะพบว่าไม่มีเครื่องหมายกำหนดจังหวะแต่อย่างใด ซึ่งบทเพลงนี้จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานของดนตรีกระแสนี้ก็ว่าได้
"4'33" ของ John Cage ถือเป็นผลงานที่เป็นทั้ง Minimalism music กับ Experimental music ก็ว่าได้ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคลแล้วกัน โดยบทเพลง 4'33 น่าจะเป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่นั้นล่ะ กับเอกลักษณ์ในเรื่องความเงียบที่ยาวนานตามชื่อเพลง 4 นาที 33 วินาที
"A Rainbow in Curved Air" ของ Terry Riley นี่คือผลงานอิเล็กทรอนิกส์กับ Minimalism music ที่เล่นบน Moog synthesizer โดยผลงานชิ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้เทคโนโลยีในกระแสดนตรีนี้ก็ว่าได้
댓글